อาหารญี่ปุ่นส่วนหนึ่งรับวัฒนธรรมมาจากจีนเห็นได้ชัดอย่างอาหารจำพวกเส้น อย่าง ราเม็ง โซบะ อุดง เราจะพบร้านอาหารจำพวกเส้นมากกว่าร้านอาหารประเภทอื่น ๆ รสชาติอันสำคัญของอาหารญี่ปุ่นมีแค่สองอย่างคือหวานกับเค็ม คนเป็นโรคไตหรือโรคเบาหวานควรหลีกเลี่ยงอย่างมาก มีผลงานการวิจัยพบว่าชาวจังหวัดนะงะโนะ ซึ่งตั้งอยู่ในแถบภาคกลางของญี่ปุ่นมีอายุยืนยาวโดยเฉลี่ยสูงกว่าจังหวัดอื่น จึงได้มีการวิจับต่อไปว่าทำจึงเป็นเช่น จากงานวิจัยนี้ทำให้พบข้อเท็จจริงหนึ่งว่า อาหารพื้นเมืองหรืออาหารที่ชาวจังหวัดนะงะโนะนิยมรับประทานกันนั้นมีมีความเค็มน้อยกว่าจังหวัดอื่น ผมเองพยายามอย่างสูงที่จะหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารญี่ปุ่น โดยเฉพาะราเม็ง เพราะนอกจากจะเค็มจนแสบคอแล้วซุปราเม็งบางชนิดยังอุดมไปด้วยไขมัน ส่วนเส้นก็คือแหล่งน้ำตาลชั้นดี ราเม็ง 1 ชามจึงให้พลังงานสูงมาก
อาหารญี่ปุ่นในคำจำกัดความปัจจุบัน หมายถึง อาหารพื้นเมืองของประเทศญี่ปุ่น ก่อนการสิ้นสุดการปิดประเทศหรือซะโกกุ (鎖国 Sakoku) เมื่อค.ศ. 1868 แต่ในความหมายที่กว้างขึ้นนั้นจะรวมถึงอาหารที่ใช้ส่วนผสมและวิธีการทำอาหารซึ่งรับมาจากต่างประเทศภายหลังการเปิดประเทศ แต่ชาวญี่ปุ่นก็ได้ประยุกต์ให้เข้ากับตนเอง อาหารญี่ปุ่นนั้นมีชื่อเสียงด้านการเน้นอาหารตามฤดูกาล (旬shun) คุณภาพของวัตถุดิบ และการจัดวาง
อาหารญี่ปุ่นถูกพัฒนามานานหลายศตวรรษ อันเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของสังคมและการเมืองในประเทศ อาหารญี่ปุ่นถูกเปลี่ยนแปลงอย่างมากเมื่อเข้าสู่สมัยกลางซึ่งเป็นสมัยที่ญี่ปุ่นถูกปกครองด้วยระบอบศักดินาอันนำโดยโชกุน ต่อมาในช่วงต้นยุคใหม่หลังการเปิดประเทศ ญี่ปุ่นรับวัฒนธรรมจากต่างชาติ โดยเฉพาะวัฒนธรรมตะวันตก ซึ่งมีอิทธิพลทำให้วัฒนธรรมการกินของชาวญี่ปุ่นเปลี่ยนแปลงอย่างมาก
อาหารญี่ปุ่นแทบทุกชนิดอยู่บนพื้นฐานของการจัดสำรับอาหารอันประกอบด้วยอาหารจานหลัก (主食 shushoku) โดยเป็นข้าว หรืออาจจะเป็น อาหารจำพวกเส้นเส้น ซุป และกับข้าวหรือโอะกะซุ (おかずokazu) ซึ่งทำจาก ปลาเนื้อสัตว์ ผัก และเต้าหู้ ปรุงรสด้วยดะชิ (หัวเชื้อน้ำซุป) มิโซะ (เต้าเจี้ยวญี่ปุ่น) และโชยุ (ซีอิ๊วญี่ปุ่น) ทำให้อาหารญี่ปุ่นส่วนมาก มีไขมันต่ำ แต่มีปริมาณเกลือสูง (ไม่ใช่แค่สูงธรรมดาแต่ต้องบอกว่าสูงมาก)
สำรับอาหารญี่ปุ่นมาตรฐานประกอบด้วยกับข้าวอย่างน้อยหนึ่งอย่าง ข้าวสวย(御飯 gohan ส่วนใหญ่จะออกเสียงทับศัพท์ว่า ไรซุ ซึ่งมาจากภาษาอังกฤษคำว่า RICE นั่นเอง) หนึ่งชาม ซุปหนึ่งถ้วย และผักดองหรือ ท์สุเกะโมะโนะ (漬物 tsukemono) เป็นเครื่องเคียง
สำรับญี่ปุ่นมาตรฐานส่วนมาก จะใช้เทคนิคการจัดที่เรียกว่า อิชิจู-ซันไซ (一汁三菜 ichijū-sansai) หรือซุปหนึ่งอย่างกับข้าวสามอย่าง กับข้าวนำมาจัดสำรับจะปรุงด้วยหลากหลายวิธี ทั้งแบบดิบ (ซะชิมิ) การย่าง การตุ๋นหรือการต้ม การนึ่ง การทอด การดอง หรือการยำ (สลัด) มุมมองของคนญี่ปุ่นต่ออาหารนั้นถูกสะท้อนในการจัดบทในตำราอาหารโดยจะจัดแยกตามวิธีการปรุงอาหาร ไม่ได้จัดตามประเภทวัตถุดิบ หรืออาจจัดเป็นแยกเป็นประเภท ซุป ซูชิ ข้าว อาหารเส้น และของหวาน
เนื่องจากญี่ปุ่นเป็นประเทศที่เป็นเกาะ ชาวญี่ปุ่นจึงบริโภคอาหารทะเลในปริมาณมาก ในอดีตชาวญี่ปุ่นไม่นิยมบริโภคเนื้อสัตว์ใหญ่ จนเมื่อมีการเปิดประเทศ ชาวญี่ปุ่นจึงรับวัฒนธรรมการรับประทานเนื้อสัตว์เข้ามา และเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ จนปัจจุบัน
อาหารเส้นก็เป็นอาหารที่สำคัญประเภทหนึ่งในอาหารญี่ปุ่น อาจรับประทานเป็นอาหารจานเดียว จัดสำรับแทนข้าว หรือจัดคู่กับข้าวเลยก็ได้ อาหารเส้นที่เป็นที่รู้จักกันดี ได้แก่ โซบะ (เส้นเล็กสีน้ำตาล ทำจากแป้งบัควีท) และอุด้ง (เส้นหนาสีขาว ทำจากแป้งสาลี) อาหารเส้นสามารถรับประทานแบบร้อนและเย็น คู่กับน้ำซุปที่ทำจากดะชิผสมโชยุ อาหารเส้นอีกประเภทหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงศตวรรษที่ผ่านมาคือ ราเม็ง ซึ่งเป็นบะหมี่ในน้ำซุปแบบจีนที่ทำจากเนื้อสัตว์ และปรับปรุงโดยชาวญี่ปุ่นจนมีเอกลักษณ์ของตนเอง
อาหารญี่ปุ่นที่เป็นที่นิยม
อาหารจานหลัก (主食 shushoku)
ข้าว (御飯 gohan)
ตั้งแต่ชาวญี่ปุ่นรู้จักการทำนาเมื่อ 2,000 พันปีที่แล้ว ข้าว ก็เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดของญี่ปุ่น ความสำคัญของข้าวต่อวัฒนธรรมญี่ปุ่น สะท้อนได้จากในอดีต ข้าวถูกใช้เหมือนเงินตราในการแลกเปลี่ยนสินค้าและเครื่องแสดงความมั่งคั่ง คำว่าข้าว ในภาษาญี่ปุ่น คือ โกะฮัง (御飯 gohan) และ เมะชิ (飯 meshi) (นิยมใช้เฉพาะผู้ชาย) เมื่อจะบอกว่ารับประทานอาหาร ชาวญี่ปุ่นจะบอกว่ากินข้าว ซึ่งหมายถึงมื้ออาหารนั่นเอง เช่น 朝ご飯 (asagohan) แปลตามตัวได้ว่า ข้าวเช้า หรือหมายถึง อาหารเช้า
ข้าวญี่ปุ่นมีเมล็ดสั้น และเมื่อสุกแล้วจะเหนียวเล็กน้อย ชาวญี่ปุ่นนิยมรับประทานข้าวขาว (白米 hakumai) คือข้าวที่ถูกขัดสีจะไม่เหลือเยื่อหุ้มเมล็ดอยู่เลย ชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่เชื่อว่าข้าวกล้อง (玄米 genmai) หรือข้าวที่ยังมีเยื่อกหุ้มเมล็ดติดอยู่นั้นอร่อยน้อยกว่า แต่ข้าวกล้องก็ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ในฐานะที่เป็นอาหารเพื่อสุขภาพ
นอกจากนี้ข้าวธรรมดาแล้ว ชาวญี่ปุ่นยังนิยมรับประทานโมจิ (餅 mochi) ซึ่งทำจากข้าวเหนียว นำไปทำให้สุกและทุบจนเหนียวเป็นก้อน นำไปปรุงได้ทั้งของคาว (ใส่ซุป) และของหวาน (ปิ้งรับประทานกับซอสหวาน หรือกับถั่วแดงกวน)
ข้าวยังสามารถนำประกอบอาหารต่างๆได้อีกหลายชนิด เช่น ซูชิ (寿司 sushi) ดมบุริ (丼 donburi) โจ๊ก (お粥 okayu) เซ็มเบ (煎餅 senbei) วะงะชิ (和菓子 wagashi) และสาเก (酒 sake) เป็นต้น
อาหารเส้น (麺類 men-rui)
อาหารเส้นอาจรับประทานเป็นอาหารจานเดียว จัดสำรับแทนข้าว หรือจัดคู่กับข้าวเลยก็ได้ อาหารเส้นที่เป็นที่รู้จักกันดี สามารถรับประทานแบบร้อนในน้ำซุป หรือแบบเย็นจุ่มซอสก็ได้
ขนมปัง (パン pan)
ญี่ปุ่นรับวัฒนธรรมการรับประทานขนมปังมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 จนถึงปัจจุบัน ชาวญี่ปุ่นพัฒนาขนมปังจนมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และนิยมรับประทานกันโดยทั่วไป คำว่าขนมปังในภาษาญี่ปุ่นคือ พัง (ญี่ปุ่น: パン pan ?) ซึ่งมาจากภาษาโปรตุเกส
กับข้าว (おかず okazu)
กับข้าว (おかず okazu) ที่ชาวญี่ปุ่นนิยมรับประทานกันทั่วไป มีหลายชนิด ตัวอย่างเช่น
- อาหารต้มหรือตุ๋น (煮物 nimono)
- อาหารผัด (炒め物 itamemono)
- อาหารทอด (揚げ物 agemono)
- อาหารย่าง หรือทอดบนกระทะแบน (焼き物 yakimono)
- อาหารนึ่ง (蒸し物 mushimono)
- ซะชิมิ (刺身 sashimi)
- ซุป (吸い物 หรือ 汁物 suimono หรือ shirumono)
- อาหารหมักดอง หรือยำ (漬け物 หรือ 和え物 หรือ 酢の物 tsukemono หรือ aemono หรือ sunomono)
ขนมหวาน (お菓子 okashi) และของทานเล่น (お八つ oyatsu)
- วะงะชิ (和菓子 wagashi) : ขนมหวานแบบญี่ปุ่น
- ดะงะชิ (駄菓子 dagashi) : ขนมหวานแบบญี่ปุ่นโบราณ
- โยงะชิ (洋菓子 yōgashi) : ขนมหวานแบบตะวันตก
- คะชิปัง (菓子パン kashi pan) : ขนมปังแบบหวาน
(จากวิกิพีเดีย)
(กำลังปรับปรุง)