ประเทศญี่ปุ่น

ญี่ปุ่น (日本 Nihon/Nippon นิฮง/นิปปง) มีชื่อทางการคือประเทศญี่ปุ่น (日本国 Nihon-koku/Nippon-koku นิฮงโกะกุ/นิปปงโกะกุ) เป็นประเทศหมู่เกาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออก ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก ทางตะวันตกติดกับคาบสมุทรเกาหลี และสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีทะเลญี่ปุ่นกั้น ส่วนทางทิศเหนือ ติดกับประเทศรัสเซีย มีทะเลโอค็อตสค์ เป็นเส้นแบ่งแดน ตัวอักษรคันจิของชื่อญี่ปุ่นแปลว่าถิ่นกำเนิดของดวงอาทิตย์ จึงทำให้บางครั้งถูกเรียกว่าดินแดนแห่งอาทิตย์อุทัย

ญี่ปุ่นมีเนื้อที่กว่า 377,930 ตารางกิโลเมตร นับเป็นอันดับที่ 61 ของโลกหมู่เกาะญี่ปุ่นประกอบไปด้วยเกาะน้อยใหญ่กว่า 3,000 เกาะ เกาะที่ใหญ่ที่สุดก็คือเกาะฮนชู ฮกไกโด คีวชู และชิโกะกุ ตามลำดับ เกาะของญี่ปุ่นส่วนมากจะเป็นหมู่เกาะภูเขา ซึ่งในนั้นมีจำนวนหนึ่งเป็นภูเขาไฟ เช่นภูเขาไฟฟูจิ ภูเขาที่สูงที่สุดในประเทศ เป็นต้น ประชากรของญี่ปุ่นนั้นมีมากเป็นอันดับที่ 10 ของโลก คือประมาณ 128 ล้านคน[8] เมืองหลวงของญี่ปุ่นคือกรุงโตเกียว ซึ่งถ้ารวมบริเวณปริมณฑลเข้าไปด้วยแล้วจะกลายเป็นเขตเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่มีประชากรอยู่อาศัยมากกว่า 30 ล้านคน

สันนิษฐานว่ามนุษย์มาอาศัยในญี่ปุ่นครั้งแรกตั้งแต่ยุคหินเก่า การกล่าวถึงญี่ปุ่นครั้งแรกปรากฏขึ้นในบันทึกของราชสำนักจีนตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1 ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากจีนในหลายด้าน เช่นภาษา การปกครองและวัฒนธรรม แต่ในขณะเดียวกันก็มีการปรับเปลี่ยนให้เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง จึงทำให้ญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมที่โดดเด่นมาจนปัจจุบัน อีกหลายศตวรรษต่อมา ญี่ปุ่นก็รับเอาเทคโนโลยีตะวันตกและนำมาพัฒนาประเทศจนกลายเป็นประเทศที่ก้าวหน้าและมีอิทธิพลมากที่สุดในเอเชียตะวันออก หลังจากแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นก็มีการเปลี่ยนแปลงทางการปกครองโดยการใช้รัฐธรรมนูญใหม่ใน พ.ศ. 2490

ญี่ปุ่นเป็นประเทศผู้นำทางเศรษฐกิจ โดยมีจีดีพีสูงเป็นอันดับสามของโลกในปี พ.ศ. 2553 ญี่ปุ่นเป็นสมาชิกของสหประชาชาติ จี 8 โออีซีดี และเอเปค และมีความตื่นตัวที่จะมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาของต่างประเทศ ญี่ปุ่นมีมาตรฐานความเป็นอยู่ที่ดีกว่าประเทศอื่นๆ ในทวีปเอเชีย  (วิกิพีเดีย)

ญี่ปุ่นเปลี่ยนแปลงตนเองเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วเทียบชั้นกับประเทศในยุโรปในยุคของจักรพรรดิเมจิ หลังการยึดอำนาจจากคณะขุนนางที่เรียกกันว่า โชกุน (โทกุกะวะ) ที่ปกครองญี่ปุ่นมายาวนานเกือบ 300 ปี หลังการสู้รบกันยาวนานถึงสองปี ในที่สุดฝ่ายโชกุนยอมแพ้ต่อฝ่ายจงรักภักดีต่อองค์จักรพรรดิและถวายคืนพระราชอำนาจแบบเบ็ดเสร็จ และเข้าสู่ยุคปฏิรูปในทุกๆด้าน โดยเฉพาะด้านอุตสาหกรรมใช้เวลาเพียงยี่สิบปีก็ก้าวสู่ความยิ่งใหญ่เทียบประเทศชั้นนำในยุโรปยุคนั้น

ประเทศญี่ปุ่นแบ่งเป็นภูมิภาคต่างๆ แต่มิได้มีสถานะเป็นหน่วยการปกครองอย่างเป็นทางการ แต่มีการใช้สืบเนื่องกันมาเป็นแผนกหนึ่งในการจำแนกพื้นที่ของประเทศญี่ปุ่นไปตามแต่บริบท ยกตัวอย่างเช่น แผนที่และตำราภูมิศาสตร์ในญี่ปุ่นจะแบ่งเป็นแปดภูมิภาค, การรายงานสภาพอากาศมักจะรายงานตามภูมิภาค ตลอดจน หน่วยธุรกิจและสถาบันการศึกษาจำนวนมากก็ใช้ชื่อภูมิภาคของเขาเป็นส่วนหนึ่งของชื่อองค์กร

จากเหนือจรดใต้ ภูมิภาคตามจารีตของญี่ปุ่นประกอบด้วย

  • ฮกไกโด (เกาะฮกไกโดและเกาะใกล้เคียง ,ประชากร: 5,507,456, เมืองใหญ่สุด: ซัปโปะโระ) เป็นชื่อจังหวัดและเกาะที่ใหญ่เป็นอันดับสองในประเทศญี่ปุ่น รองจากเกาะฮนชู แต่มีอุโมงค์ใต้ทะเลเซกังเชื่อมถึงกัน นอกจากนี้ฮกไกโดยังเป็นเขตการปกครอง ซึ่งประกอบไปด้วยหมู่เกาะ โดยมีเกาะฮกไกโดเป็นศูนย์กลาง และเป็นที่ตั้งของเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของเกาะฮกไกโดคือเมืองซัปโปโรฮกไกโดเป็นเขตที่มีคนอาศัยอยู่เบาบาง มีประชากรทั้งเกาะประมาณ 5 ล้านคน คนส่วนใหญ่ย้ายมาจากเกาะฮนชูเมื่อราว 100 กว่าปีก่อน โดยเป็นแหล่งที่ซามูไรแพ้สงครามจึงต้องหนีมาอยู่ที่เกาะนี้ ความจริงแล้วที่เกาะนี้มีชนพื้นเมืองอาศัยอยู่มานานแล้ว คือ ชาวไอนุแต่โดนกลืนชนชาติไป ปัจจุบันหลงเหลืออยู่น้อยมากและมีชีวิตเช่นชาวญี่ปุ่นทั่วไปฮกไกโดเป็นเขตที่มีอากาศหนาวเย็น โดยเฉลี่ยจะมีหิมะท่วมอยู่ทั่วไปประมาณ 4-6 เดือน ในถดูหนาวจะมีอุณหภูมิ -20 ถึง 5 องศาเซลเซียส ในหน้าร้อนจะมีอุณหภูมิ 15 ถึง 30 องศาเซลเซียส ในด้านภูมิประเทศเป็นภูเขาเป็นส่วนใหญ่ ในบริเวณที่ราบลุ่มก็จะเป็นเมืองที่คนอาศัย โดยจะหนาแน่นในบริเวณเมืองซัปโปะโระ ซึ่งมีอากาศอุ่นกว่าบริเวณต่าง ๆ ของเกาะ แต่ก็ยังหนาวกว่าเมืองอื่น ๆ ในเกาะฮนชูฮกไกโดเป็นเกาะที่มีธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ มีทิวทัศน์ที่สวยงาม ชาวญี่ปุ่นจากส่วนอื่น ๆ ของประเทศจึงนิยมมาตากอากาศหรือย้ายมาอยู่อาศัยและทำงานเป็นจำนวนมาก

    โทโฮะกุ (ตอนเหนือของฮนชู, มีประชากร: 9,335,088, เมืองใหญ่สุดของภาคนี้คือเมืองเซ็นได) โทโอะกุ แปลตรงตัวว่า “ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ”

    โทโฮะกุ ประกอบไปด้วย 6 จังหวัด ได้แก่

    • จังหวัดอะโอะโมะริ
    • จังหวัดอิวะเตะ
    • จังหวัดมิยะงิ
    • จังหวัดอะกิตะ
    • จังหวัดยะมะงะตะ
    • จังหวัดฟุกุชิมะ

    เป็นอนุภูมิภาคของญี่ปุ่น ดินแดนที่ครอบคลุมพื้นที่หนึ่งในสี่ทางเหนือของเกาะฮนชู มีชื่อเดิมว่า “มิชิโนะกุ” แปลว่าถนนภายในหรือถนนสายแคบ เนื่องจากในอดีตนั้นยากต่อการเข้าถึง ด้วยภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาขรุขระ และฤดูหนาวอันโหดร้าย โทโฮะกุเป็นดินแดนที่ยังคงธรรมชาติอันสวยงาม และเป็นแหล่งของน้ำพุร้อนจำนวนนับไม่ถ้วน นอกจากนั้น โทโฮะกุยังเป็นดินแดนแห่งตำนานเรื่องเล่าขานมากมาย และเป็นแห่งสุดท้ายที่ยังคงอนุรักษ์วิถีชีวิตขนบประเพณีญี่ปุ่นโบราณอยู่ รวมถึงหัตถกรรมพื้นเมืองที่ยังคงอนุรักษ์ไว้ ภายใต้ความเจริญและอารยธรรมสมัยใหม่ที่หลั่งไหลเข้ามา

    อนุภูมิอากาศในโทโฮะกุ ถูกแบ่งโดยเทือกเขาที่เป็นแนวยาวจากเหนือลงมาเป็นสองด้าน คือทางด้านฝั่งทะเลญี่ปุ่น จะมีอากาศหนาวเย็น หิมะตกหนักในฤดูหนาว ในขณะที่ทางด้านฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกจะมีอากาศอบอุ่นกว่า ประชากรที่อาศัยอยู่ในแถบโทโฮะกุ ปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 9 ล้านคน ลดลงจากปี พ.ศ. 2538 ที่ 9.8 ล้านคน ซึ่งเป็นสถิถิสูงที่สุด หากเทียบกับมาตรฐานของญี่ปุ่นแล้ว จัดว่ามีประชากรค่อนข้างเบาบาง บนพื้นที่ราบและลุ่มแม่น้ำเป็นแหล่งเกษตรกรรม หนึ่งในสี่ของข้าวที่ผลิตในญี่ปุ่นมาจากภูมิภาคนี้

 

  • คันโต (ตะวันออกของฮนชู, ประชากร: 42,607,376, เมืองใหญ่สุด: โตเกียว)
    • หมู่เกาะนัมโป: เป็นส่วนหนึ่งของ มหานครโตเกียว
  • ชูบุ (ตอนกลางของฮนชู, รวมถึง ภูเขาไฟฟูจิ, ประชากร: 21,714,995, เมืองใหญ่สุด: นะโงะยะ)
    • โฮะกุริกุ (ตะวันตกเฉียงเหนือของชูบุ, เมืองใหญ่สุด: คะนะซะวะ)
    • โคชินเอะสึ (ตะวันออกเฉียงเหนือของชูบุ, เมืองใหญ่สุด: นีงะตะ)
    • โทไก (ตอนใต้ของชูบุ, เมืองใหญ่สุด: นะโงะยะ)
  • คันไซ หรือ คิงกิ (ภาคตะวันตกตอนกลางของฮนชู, ประชากร: 22,755,030, เมืองใหญ่สุด: โอซะกะ)
  • ชูโงะกุ (ตะวันตกของฮนชู, ประชากร: 7,561,899, เมืองใหญ่สุด: ฮิโระชิมะ)
  • ชิโกะกุ (เกาะ, ประชากร: 3,977,205, เมืองใหญ่สุด: มะสึยะมะ)
  • คีวชู (เกาะ, ประชากร: 14,596,977, เมืองใหญ่สุด: ฟุกุโอะกะ) ซึ่งประกอบด้วย:
    • หมู่เกาะรีวกีว (นันเซ-โชะโต)
      • หมู่เกาะซะสึนัง: เป็นส่วนหนึ่งของ คะโงะชิมะ
      • รีวกีว-โชะโต และ หมู่เกาะไดโต: โอะกินะวะ

ถ้าดูตามแผนที่ด้านบนเราจะเห็นโอกินะวะอยู่ใกล้นิดเดียวเอง ในความเป็นจริงเกาะโอกินะวะตั้งอยู่เกือบถึงเกาะไต้หวัน

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *